กฎการออกเสียง (발음법칙 พา-รึม-บอบ-ชิก)
เป็นอะไรที่อาจจะดูยุ่งยากและมึนงงมาก ถ้าเริ่มเรียนแรกๆ ข้ามไปก่อนก็ไม่เป็นไรค่ะ
เป็นอะไรที่อาจจะดูยุ่งยากและมึนงงมาก ถ้าเริ่มเรียนแรกๆ ข้ามไปก่อนก็ไม่เป็นไรค่ะ
*ㅂ ㄷ ㄱ ในที่นี้หมายถึงตัวสะกดที่เป็นแม่ต่างๆ (ออกเสียงเหมือนกัน)
ㅂ
ㅁ เช่น 입맛 (อิบ-มัด) อ่านว่า [임맛] (อิม-มัด)

ㄷ อยู่หน้าㅁ,ㄴ
ㄴ เช่น 벗니 (พอด-นี) อ่านว่า [번니] (พอน-นี)

ㄱ
ㅇ เช่น 악마 (อัก-มา) อ่านว่า [앙마] (อัง-มา)

연음법칙 (ยอ-นึม-บอบ-ชิก)
เมื่อพยางค์หน้ามีตัวสะกด และพยางค์หลังมีㅇ เป็นพยัญชนะต้น
เสียงตัวสะกดในพยางค์หน้าจะถูกโยงขึ้นไปแทนㅇ
เช่น 한국어 อ่านว่า [한구거] (ฮัน-กุ-กอ)
ㅎ 탈락 (ฮี-อึด-ทัล-รัก)
พยางค์หน้ามีตัวสะกดㅎและพยางค์หลังมี ㅇ เป็นพยัญชนะต้น
ตัวสะกดㅎ จะไม่ออกเสียง
เช่น 좋아요 อ่านว่า [조아요] (โช-อา-โย)
설측음화 (ซอล-ซือ-กึม-ฮวา)
ถ้า ㄴ อยู่หน้าหรือหลังㄹ
(ㄴเป็นตัวสะกดของพยางค์หน้า และพยางค์หลังมีㄹ เป็นพยัญชนะ)
หรือㄴ เป็นพยัญชนะของพยางค์หลัง และพยางค์หน้ามีㄹ เป็นตัวสะกด)
เสียง ㄴ จะกลายเป็นเสียง ㄹ
เช่น 신라 อ่านว่า [실라] (ชิล-ลา)
일년 อ่านว่า [일련] (อิล-รยอน)
ถ้าㄹอยู่หน้าหรือหลัง ㄴ หรือ ㄹ อยู่หลัง ㄱ,ㄷ,ㅁ,ㅂ,ㅇ
เสียงㄹ จะกลายเป็นเสียง ㄴ
เช่น 신문로 อ่านว่า [신문노] (ชิน-มุน-โน)
종로 อ่านว่า [종노] (ชง-โน)
음력 อ่านว่า [음녁] (อึม-นยอก)
*คำบางคำอาจจะมีการเปลี่ยนเสียงถึงสองครั้ง ตามกฎการออกเสียงด้านบน
เมื่อตัวสะกด ㅂ,ㄷ,ㄱ อยู่หน้าหรือหลัง ㄹ
ㄹ จะเปลี่ยนเสียงเป็น ㄴ
ㄴ ที่กลายมา จะทำให้ ㅂ,ㄷ,ㄱ กลายเป็นเสียง ㅁ,ㄴ,ㅇ ตามลำดับ (비음화)
เช่น 십리 (ชิบ-รี)
십니 (ชิบ-นี)
심니 อ่านว่า (ชิม-นี)


국립 (คุก-ริบ)
국닙 (คุก-นิบ)
궁닙 อ่านว่า (คุง-นิบ)


구개음화 (คู-แก-อึม-ฮวา)
ถ้าหลังตัวสะกด ㄷ, ㅌ เป็นสระ 이 (และเสียงจะถูกโยงขึ้นไปแทน ㅇ ตามกฎ연음법칙)
ㄷจะกลายเป็นเสียง ㅈ เช่น 미닫이 อ่านว่า [미다지] (มี-ดะ-จี)
ㅌ จะกลายเป็นเสียง ㅊเช่น 끝이 อ่านว่า [끄치] (กือ-ชี่)
ถ้าหลังตัวสะกด ㄷเป็น ㅎ กับ สระ 이 (히)
ㄷ+히จะกลายเป็นเสียง 치 เช่น 닫+히다 อ่านว่า [다치다] (ทา-ชี่-ดะ)
격음화 (คยอ-กึม-ฮวา)
*ㅂ,ㄷ,ㅈ,ㄱ เป็นตัวสะกด หมายรวมถึงตัวอื่นๆที่ออกเสียงเหมือนกันด้วย
ㅂ อยู่หน้าหรือหลัง ㅎ จะเปลี่ยนเสียงเป็น ㅍ เช่น 입학 อ่านว่า [이팍] (อี-พัก)
ㄷอยู่หน้าหรือหลัง ㅎ จะเปลี่ยนเสียงเป็น ㅌเช่น 몇해 อ่านว่า [며태] (มยอ-แท)
ㅈอยู่หน้าหรือหลัง ㅎ จะเปลี่ยนเสียงเป็น ㅊเช่น 그렇지 อ่านว่า [그러치] (คือ-รอ-ชี่)
ㄱอยู่หน้าหรือหลัง ㅎ จะเปลี่ยนเสียงเป็น ㅋเช่น 많군 อ่านว่า [만쿤] (มัน-คุน)
(หลักการจำ ตัวที่ระเบิดได้ (อ่านเสียงระเบิดได้) อยู่หน้าหรือหลังㅎ จะระเบิด)
경음화 (คยอง-อึม-ฮวา)
ㅂ,ㄷ,ㅈ,ㅅ,ㄱอยู่หลังตัวสะกด ㅂ,ㄷ,ㄱ จะกลายเป็นเสียงพยัญชนะคู่(ซัง)
ㅂ
ㅃ เช่น 잡비 อ่านว่า [잡삐] (ชับ-ปี)

ㄷ
ㄸ เช่น 입대 อ่านว่า [입때] (อิบ-แต)

ㅈ
ㅉ เช่น 늦지 อ่านว่า [늗찌] (นึด-จี)

ㅅ
ㅆ เช่น 몇시 อ่านว่า [멷씨] (มยอด-ชี)

ㄱ
ㄲ เช่น 쭃고 อ่านว่า [쫃꼬] (ชด-โก)

(หลักการจำ ตัวที่ซังได้ อยู่หลังㅂ,ㄷ,ㄱจะซัง)
ㅂ,ㄷ,ㅈ,ㅅ,ㄱอยู่หลังตัวสะกด ㄴ,ㅇ,ㄹ,ㅁ จะกลายเป็นเสียงก้อง,ซัง
ㅂ
เสียงก้อง เช่น 담배 (ทัม-แบ)
ㅃ เช่น 남빛 อ่านว่า [남삗] (นัม-ปิด)
ㄷ
เสียงก้อง เช่น 담당 (ทัม-ดัง)
ㄸ เช่น 참다 อ่านว่า [참따] (ชั่ม-ตะ)
ㅈ
เสียงก้อง เช่น 문제 (มุน-เจ)
ㅉ เช่น 한자 อ่านว่า [한짜] (ฮัน-จา)
ㅅ (ไม่มีเสียงก้อง)
ㅆ เช่น 실수 อ่านว่า [실쑤] (ซิล-ซู)
ㄱ
เสียงก้อง เช่น 얼굴 (ออล-กุล)
ㄲ เช่น 굴국 อ่านว่า [굴꾹] (คูล-กุก)
(หลักการจำ ตัวที่ซังได้ อยู่หลังㄴ,ㅇ,ㄹ,ㅁจะก้อง,ซัง)
ที่มา : เอกสารประกอบการเรียน วิชาภาษาเกาหลี1, อุไรวรรณ จิตเป็นธม คิม
ที่มา : เอกสารประกอบการเรียน วิชาภาษาเกาหลี1, อุไรวรรณ จิตเป็นธม คิม
1 ความคิดเห็น:
เยอะมากเลยค่ะ 😓
แสดงความคิดเห็น